เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์
ผู้แต่ง/ที่มา : กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงาน
วันที่ : 15 มิถุนายน 2548

 

การผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ แบ่งออกเป็น 3 ระบบ คือ

เซลล์แสงอาทิตย์แบบอิสระ (PV Stand alone system)

เป็นระบบผลิตไฟฟ้าที่ได้รับการออกแบบสำหรับใช้งานในพื้นที่ชนบทที่ไม่มีระบบสายส่งไฟฟ้า อุปกรณ์ระบบที่สำคัญประกอบด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ อุปกรณ์ควบคุมการประจุแบตเตอรี่ แบตเตอรี่ และอุปกรณ์เปลี่ยนระบบไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับแบบอิสระ

ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบอิสระ (PV Stand alone system)


ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบอิสระ ได้รับการออกแบบสำหรับใช้งานในพื้นที่ชนบทที่ไม่มีระบบจำหน่ายไฟฟ้าจาก National Grid โดยมีหลักการทำงานแบ่งได้เป็น 2 ช่วงเวลา กล่าวคือ ช่วงเวลากลางวัน เซลล์แสงอาทิตย์ได้รับแสงแดดสามารถผลิตไฟฟ้าจ่ายให้แก่โหลดพร้อมทั้งประจุพลังงานไฟฟ้าส่วนเกินไว้ในแบตเตอรี่พร้อมๆ กัน ส่วนในช่วงกลางคืน เซลล์แสงอาทิตย์ไม่ได้รับแสงแดดจึงไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ ดังนั้น พลังงานจากแบตเตอรี่ที่เก็บประจุไว้ในช่วงกลางวันจะถูกจ่ายให้แก่โหลด จึงสามารถกล่าวได้ว่า ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบอิสระสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าให้โหลดได้ทั้งกลางวันและกลางคืน

อุปกรณ์ระบบที่สำคัญประกอบด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ อุปกรณ์ควบคุมการประจุแบตเตอรี่ แบตเตอรี่ และอุปกรณ์เปลี่ยนระบบไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับชนิด Stand alone เป็นต้น

 

เซลล์แสงอาทิตย์แบบต่อกับระบบจำหน่าย (PV Grid connected system)

เป็นระบบผลิตไฟฟ้าที่ถูกออกแบบสำหรับผลิตไฟฟ้าผ่านอุปกรณ์เปลี่ยนระบบไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับเข้าสู่ระบบสายส่งไฟฟ้าโดยตรง ใช้ผลิตไฟฟ้าในเขตเมือง หรือพื้นที่ที่มีระบบจำหน่ายไฟฟ้าเข้าถึง อุปกรณ์ระบบที่สำคัญประกอบด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ อุปกรณ์เปลี่ยนระบบไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับชนิดต่อกับระบบจำหน่ายไฟฟ้า

(PV Grid connected system)

เป็นระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ที่ถูกออกแบบสำหรับผลิตไฟฟ้าผ่านอุปกรณ์เปลี่ยนระบบไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับเข้าสู่ระบบจำหน่ายไฟฟ้า National Grid โดยตรงง

 

 

มีหลักการทำงานแบ่งเป็น 2 ช่วง กล่าวคือ ในช่วงเวลากลางวัน เซลล์แสงอาทิตย์ได้รับแสงแดดสามารถผลิตไฟฟ้าจ่ายให้แก่โหลดได้โดยตรง โดยผ่านอุปกรณ์เปลี่ยนระบบไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ และหากมีพลังงานไฟฟ้าส่วนที่เกินจะถูกจ่ายเข้าระบบจำหน่ายไฟฟ้า สังเกตได้เนื่องจากมิเตอร์วัดพลังงานไฟฟ้าจะหมุนกลับทาง ส่วนในช่วงกลางคืนเซลล์แสงอาทิตย์ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ กระแสไฟฟ้าจากระบบจำหน่ายไฟฟ้าจะจ่ายให้แก่โหลดโดยตรง สังเกตได้จากมิเตอร์วัดพลังงานไฟฟ้าจะหมุนปกติ ดังนั้น ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบต่อกับระบบจำหน่ายจะเป็นการใช้งานเซลล์แสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้าในเขตเมืองหรือพื้นที่ที่มีระบบจำหน่ายไฟฟ้าเข้าถึง อุปกรณ์ระบบที่สำคัญประกอบด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์ อุปกรณ์เปลี่ยนระบบไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับชนิดต่อกับระบบ Grid connected เป็นต้น

 

เซลล์แสงอาทิตย์แบบผสมผสาน (PV Hybrid system)

เป็นระบบผลิตไฟฟ้าที่ถูกออกแบบสำหรับทำงานร่วมกับอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าอื่นๆ เช่น ระบบเซลล์แสงอาทิตย์กับพลังงานลม และเครื่องยนต์ดีเซล ระบบเซลล์แสงอาทิตย์กับพลังงานลม และไฟฟ้าพลังน้ำ เป็นต้น โดยรูปแบบระบบจะขึ้นอยู่กับการออกแบบตามวัตถุประสงค์โครงการเป็นกรณีเฉพาะ

(PV Hybrid system)

เป็นระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ที่ถูกออกแบบสำหรับทำงานร่วมกับอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าอื่นๆ เช่น ระบบเซลล์แสงอาทิตย์กับพลังงานลมและเครื่องยนต์ดีเซล ระบบเซลล์แสงอาทิตย์กับพลังงานลมและไฟฟ้าพลังน้ำ เป็นต้น โดยรูปแบบระบบจะขึ้นอยู่กับการออกแบบตามวัตถุประสงค์โครงการเป็นกรณีเฉพาะ เช่น ระบบเซลล์แสงอาทิตย์กับพลังงานลมและเครื่องยนต์ดีเซล มีหลักการทำงาน กล่าวคือ ในช่วงเวลากลางวัน เซลล์แสงอาทิตย์ได้รับแสงแดดสามารถผลิตไฟฟ้าได้ จะจ่ายกระแสไฟฟ้าผ่านอุปกรณ์เปลี่ยนระบบไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับชนิดด Multi function ทำงานร่วมกับไฟฟ้าจากพลังงานลม จ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่โหลดพร้อมทั้งทำงานประจุไฟฟ้าส่วนที่เกินไว้ในแบตเตอรี่ ในกรณีพลังงานลมต่ำไม่สามารถผลิตไฟฟ้าหรือเวลากลางคืนไม่มีไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ชุดแบตเตอรี่จะจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่โหลด และกรณีแบตเตอรี่จ่ายกระแสไฟฟ้ามากจนถึงพิกัดที่ออกแบบไว้ เครื่องยนต์ดีเซลจะทำงานโดยอัตโนมัติเป็นอุปกรณ์สำรองพลังงาน กล่าวคือจะจ่ายกระแสไฟฟ้าประจุแบตเตอรี่โดยตรงและแบ่งจ่ายให้แก่โหลดพร้อมกัน และหากโหลดมีมากเกินไประบบจะหยุดทำงานทันที และจะทำงานใหม่อีกครั้งเมื่อเซลล์แสงอาทิตย์หรือพลังงานลมสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าประจุแบตเตอรี่ได้ปริมาณตามพิกัดที่ออกแบบไว้พร้อมทั้งขนาดโหลดอยู่ในพิกัดที่ชุดแบตเตอรี่สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้


 
 

 

การผลิตน้ำร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ

การผลิตน้ำร้อนชนิดไหลเวียนตามธรรมชาติ

เป็นการผลิตน้ำร้อนชนิดที่มีถังเก็บอยู่สูงกว่าแผงรับแสงอาทิตย์ ใช้หลักการหมุนเวียนตามธรรมชาติ

ชนิดไหลเวียนตามธรรมชาติ (Thermosiphon system)

ชนิดไหลเวียนตามธรรมชาติ (Thermosiphon system) เป็นชนิดที่มีถังเก็บอยู่สูงกว่าแผงรับแสงอาทิตย์ ใช้หลักการหมุนเวียนตามธรรมชาติ เมื่อน้ำได้รับความร้อนจากแสงอาทิตย์จะมีความหนาแน่นน้อยลงจึงไหลขึ้นสู่ด้านบนของถังน้ำเย็นจึงไหลเข้ามาแทนที่ เหมาะสำหรับการใช้ในที่อยู่อาศัย หรือมีปริมาณการใช้ไม่สูงมากนัก

 

การผลิตน้ำร้อนชนิดใช้ปั๊มน้ำหมุนเวียน

เหมาะสำหรับการใช้ผลิตน้ำร้อนจำนวนมาก และมีการใช้อย่างต่อเนื่อง

ชนิดใช้ปั๊มน้ำหมุนเวียน (Force circulation)

ชนิดใช้ปั๊มน้ำหมุนเวียน (Force circulation) เหมาะสำหรับการใช้ผลิตน้ำร้อนจำนวนมาก และมีการใช้อย่างต่อเนื่อง เช่น โรงแรม โรงพยาบาล และอุตสาหกรรมบางประเภท

การผลิตน้ำร้อนชนิดผสมผสาน

เป็นการนำเทคโนโลยีการผลิตน้ำร้อนจากแสงอาทิตย์มาผสมผสานกับความร้อนเหลือทิ้งจากการระบายความร้อนของเครื่องทำความเย็น หรือเครื่องปรับอากาศ โดยผ่านอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน

ระบบผสมผสาน


ระบบผสมผสาน ได้แก่ ระบบผลิตน้ำร้อนด้วยแสงอาทิตย์แบบผสมผสาน เป็นการนำเทคโนโลยีการผลิตน้ำร้อนจากแสงอาทิตย์มาผสมผสานกับความร้อนเหลือทิ้งจากการระบายความร้อนของเครื่องทำความเย็นหรือเครื่องปรับอากาศ โดยผ่านอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน (Heat Exchanger)

เพื่อลดขนาดพื้นที่แผงรับรังสีความร้อน และใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า ทั้งยังเป็นการลดปริมาณพลังงานไฟฟ้าหรือพลังงานเชิงพาณิชย์ในการผลิตน้ำร้อนได้อีกด้วยการผลิตพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ ปัจจุบันมีการยอมรับใช้งาน 3 ลักษณะ คือ

การอบแห้งระบบ Passive

เป็นระบบที่เครื่องอบแห้งทำงานโดยอาศัยพลังงานแสงอาทิตย์และกระแสลมที่พัดผ่าน

การอบแห้งระบบ Passive

การอบแห้งระบบ Passive คือระบบที่เครื่องอบแห้งทำงานโดยอาศัยพลังงานแสงอาทิตย์และกระแสลมที่พัดผ่าน ได้แก่

. เครื่องตากแห้งโดยธรรมชาติ เป็นการวางวัสดุไว้ที่กลางแจ้ง อาศัยความร้อนจากแสงอาทิตย์และกระแสลมในบรรยากาศในการระเหยความชื้นออกจากวัสดุ

. ตู้อบแห้งแบบได้รับแสงอาทิตย์โดยตรง วัสดุที่อบจะอยู่ในเครื่องอบแห้งที่ประกอบด้วยวัสดุที่โปร่งใส ความร้อนที่ใช้อบแห้งได้มาจากการดูดกลืนพลังงานแสงอาทิตย์ และอาศัยหลักการขยายตัวเอง อากาศร้อนภายในเครื่องอบแห้งทำให้เกิดการหมุนเวียนของอากาศเพื่อช่วยถ่ายเทอากาศชื้น


. ตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสม เครื่องอบแห้งชนิดนี้วัสดุที่อยู่ภายในจะได้รับความร้อน 2 ทาง คือ ทางตรงจากดวงอาทิตย์และทางอ้อมจากแผงรับรังสีดวงอาทิตย์ ทำให้อากาศร้อนก่อนที่จะผ่านวัสดุอบแห้ง 

 

การอบแห้งระบบ Active

เป็นระบบอบแห้งที่มีเครื่องช่วยให้อากาศไหลเวียนในทิศทางที่ต้องการ เช่น มีพัดลมติดตั้งในระบบเพื่อบังคับให้มีการไหลของอากาศผ่านระบบ

การอบแห้งระบบ Active

การอบแห้งระบบ Active คือระบบอบแห้งที่มีเครื่องช่วยให้อากาศไหลเวียนในทิศทางที่ต้องการ เช่น จะมีพัดลมติดตั้งในระบบเพื่อบังคับให้มีการไหลของอากาศผ่านระบบ พัดลมจะดูดอากาศจากภายนอกให้ไหลผ่านแผงรับแสงอาทิตย์เพื่อรับความร้อนจากแผงรับแสงอาทิตย์ อากาศร้อนที่ไหลผ่านพัดลมและห้องอบแห้งจะมีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำกว่าความชื้นของพืชผล จึงพาความชื้นจากพืชผลออกสู่ภายนอกทำให้พืชผลที่อบไว้แห้งได้

 


 
 

 การอบแห้งระบบ Hybrid

เป็นระบบอบแห้งที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ และยังต้องอาศัยพลังงานในรูปแบบอื่นๆ ช่วยในเวลาที่มีแสงอาทิตย์ไม่สม่ำเสมอ หรือต้องการให้ผลิตผลทางการเกษตรแห้งเร็วขึ้น

การอบแห้งระบบ Hybrid

การอบแห้งระบบ Hybrid คือระบบอบแห้งที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์และยังต้องอาศัยพลังงานในรูปแบบอื่นๆ ช่วยในเวลาที่มีแสงอาทิตย์ไม่สม่ำเสมอหรือต้องการให้ผลิตผลทางการเกษตรแห้งเร็วขึ้น เช่น ใช้ร่วมกับพลังงานเชื้อเพลิงจากชีวมวล พลังงานไฟฟ้า วัสดุอบแห้งจะได้รับความร้อนจากอากาศร้อนที่ผ่านเข้าแผงรับแสงอาทิตย์ และการหมุนเวียนของอากาศจะอาศัยพัดลมหรือเครื่องดูดอากาศช่วย


 
 

 

ศักยภาพพลังงาน

แผนที่พลังงานแสงอาทิตย์

จากแผนที่ศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศไทย (.. 2542) โดยกรมพัฒนา และส่งเสริมพลังงานและคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พบว่าการกระจายของความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ตามบริเวณต่างๆ ในแต่ละเดือนของประเทศ ได้รับอิทธิพลสำคัญจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศได้รับรังสีดวงอาทิตย์สูงสุดระหว่างเดือนเมษายน และพฤษภาคม โดยมีค่าอยู่ในช่วง 20 ถึง 24 MJ/m2-day เมื่อพิจารณาแผนที่ศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์รายวันเฉลี่ยต่อปี พบว่าบริเวณที่ได้รับรังสีดวงอาทิตย์สูงสุดเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยครอบคลุมบางส่วนของจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด ยโสธร อุบลราชธานี และอุดรธานี และบางส่วนของภาคกลางที่จังหวัดสุพรรณบุรี ชัยนาท อยุธยา และลพบุรี โดยได้รับรังสีดวงอาทิตย์เลี่ยนทั้งปี 19 ถึง 20 MJ/m2-day พื้นที่ดังกล่าวคิดเป็น 14.3% ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ นอกจากนี้ยังพบว่า 50.2% ของพื้นที่ทั้งหมดได้รับรังสีดวงอาทิตย์เฉลี่ยทั้งปี ในช่วง 18-19 MJ/m2-day จากการคำนวณรังสีรวมของดวงอาทิตย์รายวันเฉลี่ยต่อปีของพื้นที่ทั่วประเทศพบว่ามีค่าเท่ากับ 18.2MJ/m2-day จากผลที่ได้นี้แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์ค่อนข้างสูง


 
 

พลังงานแสงอาทิตย์จากการตรวจวัด

พลังงานแสงอาทิตย์จากการตรวจวัด

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ได้ดำเนินโครงการพัฒนาเครือข่ายสถานีวัดความเข้มรังสีดวงอาทิตย์สำหรับประเทศไทย เมื่อปีพ.. 2543 เพื่อให้ได้รับข้อมูลความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ที่มีความละเอียดถูกต้องและสามารถตอบสนองต่อความต้องการในด้านการวิจัย พัฒนาและประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศไทย สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการสำรวจตรวจวัดได้แก่ เครื่องมือวัดความเข้มแสงอาทิตย์ เป็นการวัดรังสีรวมของความเข้มแสงอาทิตย์ เครื่องมือที่ใช้เรียกว่า ไพราโนมิเตอร์ (Pyranometer) ซึ่งปัจจุบันที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานใช้วัดมี 2 ชนิด คือ

1. ไพราโนมิเตอร์ ที่ใช้ Thermomechanical Sensor หรือแบบ Bimetallic ซึ่งมี sensor เป็นแถบโลหะ 2 แถบ โดยแถบหนึ่งเป็นสีขาว และอีกแถบหนึ่งเป็นสีดำ เมื่อรังสีดวงอาทิตย์ตกกระทบแถบสีดำจะดูดกลืนรังสีดวงอาทิตย์ และขยายตัวได้มากกว่าแถบสีขาว แรงที่เกิดจากการขยายตัวดังกล่าวจะไปขับเคลื่อนหัวปากกาให้บันทึกข้อมูลเป็นลายเส้นลงบนกระดาษกราฟ ซึ่งพันติดรอบกระบอกกลมที่มีการขับเคลื่อนด้วยระบบไขลาน หรือระบบนาฬิกาใช้แบตเตอรี่

2. ไพราโนมิเตอร์ ที่ใช้ Thermoelectric Sensor หรือแบบ Thermopile ซึ่งมี sensor ทำด้วยโลหะ 2 ชนิด ซึ่งเชื่อมปลายทั้งสองติดกันโดยปลายข้างหนึ่งทำหน้าที่เป็น hot junction และอีกข้างหนึ่งเป็น cold junction เมื่อ hot junction ถูกรังสีดวงอาทิต์ตกกระทบจะทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของ junction ทั้งสอง และก่อให้เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้า (electromotive force) ขึ้นในวงจรที่ประกอบด้วยโลหะทั้งสองจากแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่เกิดขึ้นสามารถนำไปคำนวณหาความเข้มแสงอาทิตย์ที่ตกกระทบได้

ปัจจุบัน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานมีสถานีวัดความเข้มรังสีดวงอาทิตย์ จำนวน 25 สถานี ได้แก่

1. กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ถนนพระราม 1 แขวงรองเมือง เขตปทุมวันกรุงเทพฯ

2. ศูนย์บริการโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า กรมชลประทาน ตำบลหยุหะ อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์

3. สถานีอุตุนิยมวิทยาอุทกบัวชุม กรมอุตุนิยมวิทยา ตำบลบัวชุม อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี

4. สถานีอุตุนิยมวิทยา กรมอุตุนิยมวิทยา ตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

5. ศูนย์บริการโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า กรมชลประทาน ตำบลเกาะขวาง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี

6. ศูนย์บริการโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า กรมชลประทาน ตำบลกบินทร์ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี

7. สถานีอุตุนิยมวิทยา กรมอุตุนิยมวิทยา ตำบลเกาะหลัก อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

8. ศูนย์พัฒนาและเผยแพร่พลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ตำบลหนองหาร

อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

9. ศูนย์สำรวจอุทกวิทยา กรมทรัพยากรน้ำ ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

10. โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำแม่สะง่า กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ตำบลหมอกจำแป่

อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

11. ศูนย์บริการโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า กรมชลประทาน ตำบลดู่ใต้ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน

12. สถานีตรวจอากาศเกษตรดอยมูเซอ กรมอุตุนิยมวิทยา ตำบลแม่ท้อ อำเภอเมือง จังหวัดตาก

13. สถานีอุตุนิยมวิทยา กรมอุตุนิยมวิทยา ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์

14. สำนักงานพัฒนาและส่งเสริมพลังงานภูมิภาคที่ 3 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน

ตำบลมะขามสูง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

15. ศูนย์สำรวจอุทกวิทยา กรมทรัพยากรน้ำ ตำบลมีชัย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย

16. ศูนย์บริการโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า กรมชลประทาน ตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

17. ศูนย์บริการโครงการสูบน้ำด้วยไฟฟ้า กรมชลประทาน ตำบลพระกลางทุ่ง อำเภอธาตุพนม

จังหวัดนครพนม

18. สถานีตรวจอากาศเกษตร กรมอุตุนิยมวิทยา ตำบลคอโค อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

19. ศูนย์สำรวจอุทกวิทยา กรมทรัพยากรน้ำ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

20. สถานีอุตุนิยมวิทยา กรมอุตุนิยมวิทยา ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

21. สถานีอุตุนิยมวิทยา กรมอุตุนิยมวิทยา ตำบลบางริ้น อำเภอเมือง จังหวัดระนอง

22. สถานีตรวจอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยาเกาะสมุย ตำบลมะเร็ต อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี

23. ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันตก กรมอุตุนิยมวิทยา ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

24. สำนักงานพัฒนาและส่งเสริมพลังงานภูมิภาคที่ 4 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน

ตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา

25. สถานีอุตุนิยมวิทยา กรมอุตุนิยมวิทยา ตำบลบางนาค อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส

นอกจากนี้ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานกำลังดำเนินการขยายการติดตั้งสถานีวัดความเข้มรังสีดวงอาทิตย์เพิ่มเติมอีกจำนวน 10 สถานี ดังนี้

1. สถานีอุตุนิยมวิทยาแม่สะเรียง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

2. สถานีอุตุนิยมวิทยาแพร่ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่

3. สถานีอุตุนิยมวิทยาเกษตรเลย อำเภอเมือง จังหวัดเลย

4. สถานีอุตุนิยมวิทยากาญจนบุรี อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

5. สถานีอุตุนิยมวิทยาชลบุรี อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี

6. สถานีอุตุนิยมวิทยาชุมพร อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร

7. สถานีอุตุนิยมวิทยาสุราษฏร์ธานี อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฏร์ธานี

8. สถานีอุตุนิยมวิทยาตรัง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง

9. สถานีอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

10. สถานีศูนย์บริการนักท่องเที่ยวน้ำตกแม่กลาง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

 

ผลการตรวจวัดข้อมูลความเข้มแสงอาทิตย์

PRIVATE "TYPE=PICT;ALT="

ปี .. 2545

PRIVATE "TYPE=PICT;ALT="

ปี .. 2546

PRIVATE "TYPE=PICT;ALT="

ปี .. 2547

 

 

 

แหล่งทางภูมิศาสตร์

ความเข้มแสงเฉลี่ยรายปี
(
เมกะจูล/ ตารางเมตร.วัน)

ศักยภาพเชิงพลังงาน
(
พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ)

ทั่วประเทศ

18.2

554,070.6

การใช้งาน

กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานได้ดำเนินการจัดทำโครงการด้านพลังงานแสงอาทิตย์ทั่วประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.. 2526-2547 จำนวนทั้งสิ้น 677 แห่ง ขนาดกำลังการผลิต 2,031.606 กิโลวัตต์ โดยแบ่งออกเป็นระบบต่างๆ ดังนี้

• ระบบประจุแบตเตอรี่สำหรับหมู่บ้านชนบท 360 แห่ง

• ระบบผลิตไฟฟ้าสำหรับโรงเรียนชนบท 91 แห่ง

• ระบบผลิตไฟฟ้าสำหรับศูนย์การเรียนรู้ชุมชน 40 แห่ง

• ระบบผลิตไฟฟ้าสำหรับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน 38 แห่ง

• ระบบผลิตไฟฟ้าสำหรับฐานปฏิบัติการทางทหารและตำรวจตระเวนชายแดน 50 แห่ง

• ระบบผลิตไฟฟ้าสำหรับสถานีอนามัย 1 แห่ง

• ระบบผลิตไฟฟ้าเชื่อมต่อกับระบบจำหน่ายไฟฟ้า 10 แห่ง

• ระบบผลิตไฟฟ้าในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 15 แห่ง

• ระบบสูบน้ำสำหรับหมู่บ้านชนบทและพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 67 แห่ง

• ระบบ Mini Grid สำหรับหมู่บ้าน 5 แห่ง

สำหรับการใช้งานด้านพลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศไทยนับตั้งแต่ปี พ.. 2526-2546 พบว่า มีหน่วยงานทั้งในส่วนของภาครัฐ และสถาบันการศึกษาได้ดำเนินการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ ระบบสูบน้ำด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ รวมถึงระบบการสื่อสารด้วยเซลล์แสงอาทิตย์เป็นจำนวนถึง 5,763.813 กิโลวัต

 

การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ตามแหล่งภูมิศาสตร์

 

การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
ระหว่างปี พ.. 2536-2547

ภาค

จำนวน (ระบบ)

ขนาดติดตั้ง (กิโลวัตต์)

ภาคกลาง

95

261.175

ภาคเหนือ

403

1,098.73

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

51

161

ภาคใต้

128

510.7

รวม

677

2,031.606

 

 

การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในกิจกรรมต่างๆ

 

สถานภาพการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาประยุกต์ใช้งานในประเทศไทยที่เห็นอย่างชัดเจน ได้แก่ การผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ และการผลิตน้ำร้อนจากแสงอาทิตย์ ส่วนการใช้ประโยชน์อย่างอื่น เช่น การอบแห้ง การกลั่นน้ำ และการทำความเย็น ส่วนใหญ่ยังเป็นการทดลอง และการวิจัยเท่านั้น

 

 

ลำดับที่

กิจกรรมใช้งาน

จำนวนการติดตั้ง

ร้อยละ

1

ระบบประจุแบตเตอรี่

1,693.00

33.33

2

ระบบสื่อสารโทรคมนาคม

1,900.00

37.40

3

ระบบสูบน้ำ

954.00

18.78

4

โรงเรียนประถมศึกษา

200.00

3.98

5

ระบบผสมผสานกับสายส่งไฟฟ้า
พลังงานน้ำ พลังงานลม

233.00

4.59

6

อื่นๆ (สถานีอนามัย ระบบนำร่อง ฯลฯ)

100.00

1.92

 

รวม

5,080.00

100.00

         

การใช้ประโยชน์เซลล์แสงอาทิตย์ในประเทศไทย

ปัจจุบันมีการติดตั้งการใช้งานระบบไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ประมาณ 5,000 กิโลวัตต์ ส่วนใหญ่จะเป็นการใช้งานในพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้าเข้าถึง กิจกรรมที่นำเซลล์แสงอาทิตย์ไปใช้งานมากที่สุด ได้แก่ ระบบสื่อสารโทรคมนาคม รองลงมาเป็นระบบประจุแบตเตอรี่ด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ และระบบสูบน้ำ หน่วยงานที่นำระบบไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ไปใช้ประโยชน์ยังคงเป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดหาระบบพลังงานสำหรับสาธารณประโยชน์


ครงการศึกษาวิจัย

 

1. โครงการประเมินผลทางด้านเทคนิค เศรษฐกิจ และสังคมของการจัดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าประจุแบตเตอรี่ด้วยเซลแสงอาทิตย์

2. โครงการจัดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลแสงอาทิตย์สำหรับโรงเรียนตระเวณตำรวจชายแดนที่ไม่มีระบบจำหน่ายไฟฟ้าเข้าถึงและ ฐานปฏิบัติการกองร้อย   ตระเวณชายแดนที่ 336 และ 337

3. โครงการสาธิตการใช้ประโยชน์จากพลังงานทดแทนพลังงานแสงอาทิตย์ในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

4. โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์ และการตลาดของระบบพลังงานแสงอาทิตย์

5. โครงการจัดทำแผนที่ศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์ทั่วประเทศจากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมและสถานีติดตั้งเครื่องมือวัดภาคพื้นดิน

6. โครงการจัดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าประจุแบตเตอรี่ด้วยเซลแสงอาทตย์สำหรับหมู่บ้าน ชนบท ที่ไม่มีไฟฟ้า

7. โครงการศึกษาเทคโนโลยีการผลิตนำร้อนด้วยระบบผสมผสานพลังงานแสงอาทิตย์ในโรงพยาบาลและโรงแรม

8. โครงการพัฒนาเครือข่ายสถานีวัดความเข้มรังสีดวงอาทิตย์สำหรับประเทศไทย

9. โครงการวิจัยสาธิตระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลแสงอาทิตย์เชื่อมกับระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเครื่องยนตร์ดีเซล

10. การพัฒนาแผนที่และฐานข้อมูลศักยภาพแสงสว่างธรรมชาติจากภาพถ่ายดาวเทียม

11. โครงการศึกษา ออกแบบและสร้างต้นแบบเตาเผาสุริยะอุณหภูมิสูง

12. โครงการศึกษาแนวทางการลงทุนจัดตั้งอุตสาหกรรมผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ในประเทศไทย

13. โครงการติดตามและประเมินผลเพื่อการพัฒนาการใช้ระบบประจุแบตเตอรี่ด้วยเซลล์แสงอาทิตย์

14. การพัฒนาระบบผลิตน้ำร้อนผสมผสานสำหรับโรงพยาบาลหรือสถานสาธารณประโยชน์ของรัฐ

15. การพัฒนาสาธิตและเผยแพร่เครื่องอบแห้งด้วยแสงอาทิตย์สำหรับผลิตผลทางการเกษตร

16. โครงการจัดทำคู่มือมาตรฐานข้อมูลด้านภูมิอากาศและแสงอาทิตย์สำหรับใช้งานด้านพลังงานทดแทน

 

การศึกษาผลกระทบกับระบบจำหน่ายจากการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ในเขตเมือง

 

 

 
Free Web Hosting